ก่อนอื่นต้องขอบคุณพี่ google นะคะในการ Search ข้อมูลครั้งนี้ หุๆ ท่องไปหลากหลาย ..ก็สรุปความรู้ได้ว่า...
ศาสตร์--> วิชาความรู้
ศิลป์--> เป็นเทคนิคการสอนเป็นอย่างดี ฝีมือในการจัดการให้ความสนใจด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบ
ในการตัดสินใจ
ดังนั้น :: การสอนจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มีเป้าหมายในการเรียนการสอน และการสอนนั้นจะประสบความสำเร็จได้ดีถ้าครูรู้จักใช้ศาสตร์(ความรู้วิชาการ/เนื้อหาวิชา)อย่างมีศิลป์ (เทคนิค/วิธีการสอน)
เพิ่มให้อีกหน่อยๆ ..
การสอนมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ข้อนี้ต้องการเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง3ด้าน ได้แก่
1 ด้านความรู้ ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย กล่าวคือ ผู้เรียนเกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญาเกิดความพัฒนาจากความไม่รู้ไม่เข้าใจ คิดไม่เป็นมาเป็นมีความรู้ความเข้าใจ มีความคิดและคิดเป็น เช่น จากการอ่านเขียนไม่ได้ไม่เป็น มาเป็นอ่านออกเขียนได้ แสดงความคิดเห็นได้ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ ประเมินค่าและวิจารณ์ได้ ฯลฯ
2 ด้านเจตคติหรือด้านจิตพิสัย เกี่ยวกับความรู้สึกเห็นคุณค่า ความดีความงาม ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในด้านนี้ เช่น รู้สึกซาบซึ้งในบทกลอนที่ได้ฟังได้อ่าน เห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เกิดการยอมรับที่จะช่วยกันรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เห็นคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้ เป็นต้น
3 ด้านทักษะ หรือด้านทักษะพิสัย หมายถึง ความสามารถกระทำได้ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย เช่น สามารถว่ายน้ำได้ พิมพ์ดีดได้ ร้อยมาลัยได้ วาดภาพได้ โยนลูกบอลได้ ฟัง พูด อ่าน เขียนได้ ฯลฯ ผู้เรียนจะเกิดทักษะ ถ้าได้ปฏิบัติบ่อยๆ
ดังนั้นในการสอนจึงต้อตั้งจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้งสามด้าน มิใช่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว จึงจะถือเป็นการสอนที่สมบูรณ์ ตลอดจนให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้
อ้างอิง : อาภรณ์ ใจเที่ยง. หลักการสอน(ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2546
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
::ol- kapook -lo::