วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

::ol- ตะลิงปลิง

        วันนี้เปิดคอมฯไปเจอรูปตะลิงปิงที่ถ่ายรูปเก็บไว้ตอนกลับบ้าน ก็เลยว่าลองหาข้อมูลดูดีกว่า ว่าไอ้เจ้า "ตะลิงปลิง" เนืี่ย มีประโยชน์เป็นยังไงบ้าง เพราะรสชาติ เปี๊ยวจี๊ดถึงใจ..นึกถึงก็เปรี๊ยวปาก น้ำลายสอกันเลย (จิ้มกับกะปิ) ว๊าย!! ..ไม่ไหวแล้ว..


(ภาพถ่ายต้นตะลิงปลิงที่บ้าน ตอนที่โทรศัพท์ยังไม่เสีย T_______T! )

 เห็นแล้วก็เปรี๊ยวปาก  อยากกิน ฮ่าๆๆ
ก่อนอื่นมารู้จักที่มาที่ไปของตะลิงปลิงกันก่อนดีกว่า..ไปกันเลย!!!。◕‿◕。
v
v

ตะลิงปลิง  เป็นไม้ผลผลในวงศ์ Oxalidaceae เป็นพืชเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป นอกจากนี้ผลยังสามารถใช้บริโภค ตะลิงปลิงเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ผลมะเฟืองมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)






×÷·.·´¯`·)»ลักษณะทางพฤกษศาสตร์«(·´¯`·.·÷× ♫

 ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง 
εїз  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11-37 ใบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ปลายคี่เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม 
εїз ช่อดอกเป็นกระจุกอยู่ตามลำต้น มีกลีบดิกสีแดงอมม่วง ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ และมีกลิ่นอ่อน ๆ ทยอยบานได้นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความดก เกสรกลางดอกมีสีเขียว 
εїз ผลรูปรี ป้อม ยาว 4-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ฉำ้น้ำ ปลายแหลม และเว้าเป็นพูตื้น ๆ 4 พู สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน
       **  ผลมีรสเปรี้ยว เป็นที่นิยมเก็บผลอ่อนมากินกับกะปิ น้ำปลาหวาน เกลือ หรือนำมาทำส้มตำตะลิงปลิง หรือกินกับอาหารรสจัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงใส่ในอาหารที่ต้องการความเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต้มยำ เป็นต้น หรือจะนำมาแช่อิ่มก็ได้ หรือจะนำมาทำน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้แคลอรีต่ำ มีวิตามินเอสูง แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดตกตะกอนได้

×÷·.·´¯`·)» ...สรรพคุณ...«(·´¯`·.·÷× 


         ╰☆╮ ราก สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
         ╰☆╮ ใบ สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
        ╰☆╮  ดอก นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
        ╰☆╮  ผล สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด


หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกคนนะคะ ^^ 
คิดถึงบ้านจัง...•:*´¨`*:•. ♫~*
 ข้อมูลจาก :  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2554) 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

::ol- kapook -lo::